ประวัติศาสตร์และการพัฒนาของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงส่งผลทำให้มหาวิทยาลัย มีวิทยาเขตตามโครงสร้างด้านภูมิศาสตร์และกระจายไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ โดยทั่วไป ประกอบกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีภารกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่งคือ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมจึงส่งผลให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในอดีตมีบทบาทโดดเด่นอย่างมากทางด้าน การค้นคว้าวิจัยและการสืบสานทางด้านกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นบทบาทขององค์กรในรูปแบบของสถาบัน ได้แก่ สถาบันทักษิณคดีศึกษา วิทยาเขตสงขลา สถาบันวิจัยศิลปะ และวัฒนธรรมอีสาน วิทยาเขตมหาสารคาม รวมทั้งการมีบทบาทในการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ การจัดกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ต่อมาวิทยาเขตต่างๆ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นอิสระไปจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงส่งผลให้บทบาทด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เกิดข้อจำกัดไม่อาจทำตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างสมบูรณ์ ประกอบกับคณะศิลป กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้มากกว่า 3 ทศวรรษ มีระบบการศึกษาที่เกื้อหนุนการสืบสานศิลปวัฒนธรรมมาโดยตลอด รวมทั้งมองเห็น จุดอ่อนทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นภายหลังที่วิทยาเขตต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระดังที่กล่าวข้างต้น อธิการบดี ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ ขณะที่ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม และคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ตามลำดับ จึงได้เสนอโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัย ศิลปวัฒนธรรม ต่อมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัย ได้ปฏิบัติภารกิจด้านศิลปวัฒนธรรมให้สมบูรณ์ อีกทั้งได้มอบหมายให้ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ(อาจารย์จันทร์ทิพย์ ลิ่มทอง) รับผิดชอบงานพิธีการเพื่อสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัย ตลอดจนหน่วยผลิตภัณฑ์คุณภาพ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์และนโยบายของมหาวิทยาลัยอีกด้วยโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้รับการอนุมัติจาก สภามหาวิทยาลัย ให้เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2543และได้เปลี่ยนชื่อจาก สถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม เป็น สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ เพื่อให้เหมาะสมกับพันธกิจของสถาบันฯ ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ 19 ก.ค. 2547
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การพัฒนาสถาบันให้บริการวิชาการด้านวัฒนธรรมและศิลปะสู่อาเซียน
การสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมและศิลปะเพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์กรที่เข้มแข็งและยั่งยืน
การรวบรวมองค์ความรู้เพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรมและศิลปะที่มีคุณภาพ
การพัฒนาศักยภาพองค์กรและบุคคลเพื่อเป็นผู้ให้บริการทางด้านวัฒนธรรมและศิลปะอย่างมืออาชีพ
งานบริหารจัดการด้านวัฒนธรรมและศิลปะ งานพิธีการ
การบริหารจัดการ และให้บริการด้านหอเกียรติยศ หอจดหมายเหตุ ประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัย และการให้บริการพื้นที่สำหรับการจัดนิทรรศการ และงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะอื่นๆ
การส่งเสริม และเผยแพร่ความรู้วิชาการด้านวัฒนธรรมและศิลปะ